การ ใส่กัญชาในอาหารอย่างไรจึงปลอดภัย

กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากเลยก็ว่าได้ สำหรับการการใช้กัญชาในการปรุงอาหารต่างๆ จนเกิดกลายเป็นสูตรอาหารใบกัญชา ตามร้านอาหารทั้วไปมากมายที่มักจะนิยมนำกัญมามาเป็นส่วนหนึ่งของอาหาร ไม่ว่าจะนำมาปรุงเพิ่มรสชาติ หรือนำมาตกแต่งเพื่อดึงดูดเทรนด์กัญชาก็ตาม ซึ่งหากจะนำมาประกอบอาหารก็ต้องดูเกณฑ์ปริมาณการใช้กัญชาในอาหารด้วยเช่นกัน ครั้งนี้เรามีความรู้ดีๆ มาบอกตอสำหรับผู้ที่สนใจจะปรุงอาหารด้วยกัญชาว่า ใส่กัญชาในอาหารอย่างไรจึงปลอดภัย ไปดูกัน ดอกและเมล็ดยังเป็นสิ่งต้องห้าม | ใส่กัญชาในอาหารอย่างไรจึงปลอดภัย แม้ว่าการปลดล็อกกัญชาออกมากลุ่มยาเสพติดแล้ว แต่สามารถนำเฉพาะในส่วนของใบกัญชามาปรุงอาหารได้เท่านั้น ในส่วนของเมล็ดและดอกกัญชา ยังคงเป็นสิ่งผิดกฏหมายอยู่เช่นเดิม ซึ่งโดยปกติส่วนมากใบกัญชาก็มักจะนิยมนำมาปรุงอาหารอยู่แล้ว ต้มใส่กัญชาในอาหารอย่างไรจึงปลอดภัย | ใส่กัญชาในอาหารอย่างไรจึงปลอดภัย ใบกัญชาจะนิยมเอามาใส่ในหม้อน้ำต้มก๋วยเตี๋ยวต่างๆ เพื่อสร้างรสชาติที่กลมกล่อม ซึ่งปริมาณที่ใส่ก็ใช้ไม่เกิน 10 ใบต่อหนึ่งหม้อแล้วเคี่ยวน้ำให้เดือดพร้อมกับปรุงรสตาม จากนั้นให้กินเพียงแค่น้ำแกงเท่านั้น อย่ากินใบกัญชา เพราะหากกินเข้าไปก็ไม่ได้มีผลอะไรทั้งสิ้นเนื่องจากความร้อนที่ใช้ในการปรุงและเคี่ยว ละลายอยู่ในน้ำแกงหมดแล้ว แต่จะเป็นปริมาณที่ค่อนข้างเจือจางไม่มีผลกระทบใดๆ ทอด, ผัด หรือกินใบสด การใส่กัญชาในอาหารอย่างไรจึงปลอดภัยนั้น มีอีกหนึ่งหลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการนำใบกัญชามาทอดด้วยความร้อนสูงในเวลานานจะทำให้สาร THC ละลายกลายเป็นที่มีประโยชน์กับร่างกายได้ไม่น้อยเลยทีเดียว, หรือหากนำมาผัดให้ลงกะทะเพียงแค่แปบเดียวแล้วเอาขึ้นและกินใบ จะได้รับสารที่ดีมีประโยชน์กว่า หากต้องการกินจริงๆ ทางการวิจัยให้ลองกินใบกัญชาสดๆ ดูหรือไม่ก็นำไปสกัดหรือคั้นเป็นน้ำก็ได้ ห้ามใส่เกินปริมาณที่กำหนด วิธีการใส่กัญชาในอาหารอย่างไรจึงปลอดภัยที่สำคัญที่สุดคืออย่าใส่เกินปริมาณที่กำหนด หรือหากคุณเป็นคนที่ทำเองกินเองก็ไม่ควรบริโภคใบกัญชาเกิน 4 ใบต่อหนึ่งวัน เพราะอาจจะทำให้มีอาการข้างเคียงอย่างหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ, ปากแห้งล มือสั่น, เวียนหัว, ฯลฯ หากเกิดอาการเหล่าขึ้นกับร่างกายสามารถแก้ไขได้ง่ายๆ […]
รวม เมนูอาหารจากใบกัญชา

เมื่อรัฐบาลประกาศปลดล็อคกัญชาสามารถนำมาปรุงอาหารได้แล้วนั้น ต่างก็ไม่วายที่จะมีเชฟชื่อดังและร้านอาหารต่างๆ คิดสูตรอาหารใบกัญชาอย่างมาโชว์กันอย่างมากมาย เห็นทีต้องลองเปลี่ยนอาหารบ้านๆ ธรรมดาๆ ของคุณให้กลายเป็นอาหารสุดฮิพแถมมีประโยชน์หากรู้ปริมาณการใช้กัญชาในอาหารแบบพอดี ว่าแต่ เมนูอาหารจากใบกัญชา จะมีอะไรน่ากินและทำตามกันง่ายๆ บ้างนั้นลองไปดูแล้วทำตามกันเลยดีกว่า กะเพราใบกัญชา | เมนูอาหารจากใบกัญชา เป็นเมนูอาหารจากใบกัญชาง่ายๆ ที่หลายบ้านและหลายคนต่างนิยมทำกินกันอยู่แล้วนั่นก็คือผัดกะเพรา แต่ผัดกะเพราในคราวนี้จะฮิพขึ้นกว่าเดิมตรงทีไม่ได้มีแค่ใบกะเพราเท่านั้น แต่เพิ่มใบกัญชาใส่ลงไปด้วยนั่นเอง วัตถุดิบและวิธีการทำก็เหมือนกับการทำผัดกะเพราเลย เริ่มจากการตำพริก-กระเทียมเข้าด้วยกันแล้วนำไปผัดกับน้ำมันบนกะทะ จากนั้นใส่เนื้อสัตว์ตามที่ชอบ, ปรุงรสชาติด้วยเครื่องปรุง พร้อมใส่ใบกะเพราลงไป จากนั้นเพิ่มความพิเศษด้วยการใส่ใบกัญชาแล้วยกขึ้นเสิร์ฟกับข้าวสวยร้อนๆ เพียงเท่านั้นก็อิ่มฟิ นได้แล้วล่ะ ต้มแซ่บกัญชา | เมนูอาหารจากใบกัญชา เมนูอาหารจากใบกัญชาง่ายๆ อีกหนึ่งเมนู กับวัตถุดิบเตรียมการทำต้มแซ่บแบบธรรมดาๆ เริ่มจากการต้มน้ำให้เดือด ใส่ขา ตะไคร้ แล้วใส่เนื้อสัตว์ที่ชอบลงไป จากนั้นปรุงรสเปรี้ยวเผ็ดตามที่ชอบและโรยใบกัญชาลงไป ปิดฝาทิ้งไว้สักพักตักเสริฟได้เลย ไข่เจียวกัญชา จากไข่เจียวหมูสับหรือไข่เจียวอื่นๆ ลองเปลี่วัตถุดิบจากผักเหล่านั้นมาเป็นใบกัญชาสัก 2-3 ใบใส่ลงไปแทนขณะตีไข่ แล้วนำไปทอดในกะทะที่มีน้ำมันเดือด เพียงเท่านั้นคุณก็จะได้เมนูอาหารจากใบกัญชาที่สุดแสนพิเศาและมีประโยชน์เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งเมนู ยำกัญชากรอบ หลายคนคงเคยกินยำผัดบุ้งกรอบกันแน่ๆ แต่ลองเปลี่ยนจากผัดบุ้งมาเป็นใบกัญชา นำมาชุบแป้งทอด พร้อมราดน้ำยำกันดูบ้าง รับรองว่าจะอารมณืดี ติดใจกันไปหลายคนแล้วล่ะ ขนมปังหน้าใบกัญชา ของกินเล่นขบเคี้ยวยามว่างอีกหนึ่งเมนูอาหารจากใบกัญชาเลยล่ะ ด้วยการนำขนมปังธรรมดาๆ โปะด้วยหน้าหมูสับปรุงรส ตามด้วยใบกัญชาโรยหน้า […]
แคนดี้แลนด์ (CANDYLAND)

แคนดี้แลนด์เป็นสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมในย่านอ่าวและกระโดดเข้ามามีบทบาทในปี 2014 ได้รับชัยชนะในการแข่งขันสองสามครั้ง และได้รับการติดตามจากผู้ปลูกรวมทั้งผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการผลิตขนไตรโคม/เรชินและรสชาติที่หวาน การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ แคนดี้แลนด์ดีสำหรับสภาวะที่เกิดอาการอักเสบ เช่น โรคลำไส้แปรปรวน(IBD) ข้ออักเสบ และโรคลูปัส เนื่องจากมีแคริโอฟิลลีนและฮิวมูลีนในปริมาณสูงขณะที่เอ็นทูราจส่วนที่เหลือมีฤทธิ์ทำให้ผ่อนคลายและระงับปวด สายพันธุ์นี้เป็นตัวเลือกที่ดีมากสำหรับการนอนนิ่งๆ อยู่บนเดียงและการฟื้นตัว หมายเหตุ แคนดี้แลนด์ได้รับการเพาะพันธุ์โดยเคน เอสเตส (Ken Estes) นักเพาะพันธุ์ที่เป็นที่รู้จักจากการทำงานกับกัญชาสายพันธุ์สีม่วง โดยเฉพาะกับสายพันธุ์แกรนด์แดดดี้เพิปส์ (Granddaddy Purps) ดูเหมือนว่าจะมีลักษณะตามองค์ประกอบทางเคมีอยู่สองแบบในกัญชาพันธุ์สีม่วง โดยแบ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีเมอร์ซีนสูงที่ทำให้เกิดอาการ “ติดเก้าอี้” และสายพันธุ์ที่มีแคริโอฟิลลีนเด่นซึ่งส่งผลต่อทำงานมากกว่า ส่วนแคนดี้แลนด์นั้นเป็นดังตัวอย่างต่อไปนี้ ประเภท: ลูกผสมชนิดใบกว้าง ประเภท 1พันธุ์: Cannabis indica ssp. afghanica x Cannaibs indica ssp.indicaวันที่ผสมพันธุ์: ปี 2014พันธุกรรม: แกรนด์แดดดี้ เพิปส์ (Granddaddy Purps) x แพลตินัม เกิร์ล สเกาต์ คุกกี้ (Platinum Girl Scout Cookies)ข้อมูลสารเทอร์ปีน: […]
บลูเบอร์รี่ (BLUEBERRY)

บลูเบอร์รี่เป็นหนึ่งในลูกผสมสายพันธุ์ indica ดั้งเดิมที่เกิดขึ้นมาในช่วงปลายทศวรรษ 1990โดยเป็นสายพันธุ์ที่ทำให้พันธุกรรมวงศ์บลูทั้งหมดได้รับความนิยมจากธนาคารเมล็ดพันธุ์ดัตช์ แพสชั่น (Dutch Passion) ในอัมสเตอร์ดัม โดยรวมถึงสายพันธุ์อย่าง บลู มูนไชน์ (Blue Moonshine), โฟล (Flo), บลู เวลเว็ต (Blue Velvet) และสายพันธุ์อื่น ๆ อีกมากมาย นอกจากนี้บลูเบอร์รีก็ได้แชมป์กัญชาของHigh Times luil 2000 การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เนื่องจากบลูเบอร์รี่มีฤทธิ์ที่แรง แต่ไม่ทำให้รู้สึกถูกครอบงำ เป็นสายพันธุ์ที่ผู้ป่วยที่ไม่เคยใช้กัญชามักจะทนได้ดี มีการอ้างอิงถึงบลูเบอร์รี่ในด้านความสามารถในการทำให้ผู้ที่ทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วยรู้สึกอารมณ์ดีขึ้นได้ ผู้ป่วยบอกว่าบลูเบอร์รี่ลดอาการวิตกกังวล โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในภาวะวิตกกังวลต่อการเข้าสังคมปริมาณแคริโอฟิลลีนที่มีอยู่ทำให้มีประโยชน์สำหรับสภาวะที่ทำให้เกิดการอักเสบ หมายเหตุ สายพันธุ์กัญชาในวงศ์บลูได้รับการพัฒนาและปรับปรุงเป็นครั้งแรกโดยดีเจ ชอร์ต(DJ Short) นักเพาะพันธุ์กัญชาผู้มีพรสวรรค์จากโอเรกอน ซึ่งเริ่มลงมือกับพันธุกรรมพื้นเมืองเม็กซิกันและไทยในช่วงทศวรรษ 1970 ด้วยกลิ่นที่หอมหวานคล้ายผลไม้ที่โดดเด่นและมีกลิ่นสกังค์เพียงเล็กน้อยของบลูเบอร์รี่ ทำให้คำวิพากษ์วิจารณ์ที่ว่าสายพันธุ์ใบกว้างจะให้กลิ่นกัญชาธรรมดาๆ ฉุนๆ เท่านั้นหมดไป ความทุ่มเทอย่างเต็มที่เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่มีฤทธิ์ทางยาที่มีคุณภาพมากกว่าการมีฤทธิ์ที่แรงของดีเจ ชอร์ตทำให้เขาได้สร้างสายพันธุ์กัญชาที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาลบางสายพันธุ์ขึ้นมา เขาเป็นอาจารย์ที่ยอดเยี่ยมผู้ให้คำปรึกษาแก่นักเพาะพันธุ์ที่ดีท่สุดจำนวนหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ในวันนี้ บลูเบอร์รี่ที่ยอดเยี่ยมนั้นหาได้ยาก แต่ก็ยังดูออกได้ง่ายเพราะมีกลิ่นเหมือนผลไม้สมชื่อ เหตุผลหนึ่งที่ทำให้บลูเบอร์รี่เป็นสายพันธุ์ที่หาได้ยากอยู่ที่ปัญหาที่ก่อกวนการเพาะพันธุ์กัญชาสมัยใหม่ทั้งหมด นั่นคือการรักษาเสถียรภาพของสายพันธุกรรมจากเมล็ดการสร้างสายพันธุ์เพื่อการเพาะพันธุ์ที่มีความเสถียรนั้นใช้เวลานานมาก และเป็นงานที่ใช้แรงงาน การปลูกต้นพืชไม่กี่พันตันเพื่อทำการคัดเลือกไม่ใช่ความพยายามที่รอบคอบนักและเป็นงานที่ทำให้นักเพาะพันธุ์ตกอยู่ในความเสี่ยงที่สูงมาก เมื่อโอเรกอนผ่านกฎหมายกัญชาทางการแพทย์ […]
ใบเลี้ยง กัญชา (Fan leaves)มีค่าอย่าโยนทิ้ง 4 ไอเดียในการนำไปใช้ง่าย ๆ

กัญชา หรือ fan leaves ที่เรารู้จักนั้นจะมีใบที่ใหญ่คล้ายใบพัดทำให้มันแสงแดดที่จะเข้าถึงใบอื่น ๆ ทำให้ใบอื่นนั้นมีอาการสีเหลืองและทำให้ยากต่อการสังเกตุโรคหรือแมลงศัตรูพืช จึงทำให้ผู้ปลูกหลายรายเลือกที่จะตัดใบทิ้ง 20% ซึ่งส่งผลให้ค่าCBD และ THC นั้นลดลง ซึ่งใบใหญ่เต็ม ๆ นั้นจะให้ค่าCBD และ THC อยู่ที่ 0.3% และ0.7% ตามลำดับ ใบที่ใหญ่นั้นก็ไม่ได้ส่งผลเสียทั้งหมดเพราะการที่มีใบใหญ่นั้นจะทำให้มีการสังเคราะห์แสงที่ดีขึ้นและส่งผลให้ไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrients) ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและช่วยเสริมภูมิคุ้มกันที่ร่างกายเราไม่สามารถขึ้นมาเองได้นั้นเพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งวิธีตัดใบออกนั้นค่อนข้างที่จะทำให้คุณประโยชน์ของกัญชานั้นลดลง ดังนั้นแล้วจะมาดู 4 วิธีในการเปลี่ยนใบกัญชาเจ๋ง ๆ 1.High tea ที่จะทำให้คุณนอนหลับฝันดี วิธีนี้น่าจะถูกใจสายดื่มชา เพราะ เราจะเอาใบกัญชานั้นมาตาดแดดให้แห้งและใส่ลงไปในผ้าขาวหรือตัวกรองอันเล็ก ๆ ก่อนใส่ลงไปในแก้วจากนั้นก็ใส่น้ำร้อนและน้ำมันมะพร้าว 1 ช้อนโต๊ะ แค่นี้คุณก็จะได้จิบ ไฮที ยามบ่ายเตรียมตัวนอนฝันดีตอนกลางคืน 2.ปั่นดื่มเพื่อสุขภาพ สายสุขภาพ น่าจะถูกใจไม่น้อยกับวิธีนี้ โดยการนำใบ กัญชา ที่เราตัดไปนั้นมาล้างน้ำและใส่เครื่องปั้นลงไปเพื่อดื่มซึ่งมันจะไม่ทำให้เราเคลิ้มหรือล่องลอยแต่จะให้คุณประโยชน์ต่อเราเยอะมาก ทั้งนี้ถ้าใครยังดื่มไม่ค่อยสะดวกก็สามารถเติมผักผลไม้ลงตามใจชอบได้เลย 3.นำไปใช้แทนผักชี อาจจะนำมาต้นกัญชาซอยเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อใช้โรยหน้าอาหารแทนพวกผักชีหรือจะนำไปประกอบอาหารก็ดีไปอีกแบบ 4.บำรุงผม […]
กัญชา มีอายุไหม? มีวิธีเก็บรักษากัญชาอย่างไรให้อยู่ได้นานเป็นปี? เรามีคำตอบ

โดยธรรมชาติแล้วของทุกอย่างย่อมมีวันหมดอายุหรือเสื่อมสภาพอยู่แล้ว แต่ทั้งนี้แล้วก็ขึ้นอยู่ที่เรานั้นจะมีการเก็บรักษาอย่างไร เช่นเดียวกับ กัญชา ที่ย่อมมีวันเสื่อมสภาพได้ แต่ถ้าเรามีการเก็บรักษาที่ดีก็จะสามารถคงสภาพเอาไว้ได้ดี ดังนั้นแล้วอายุของกัญชานั้นจะขึ้นอยู่ที่การเก็บรักษา โดยใบกัญชาสังเกตได้จากสีของใบถ้าหากมีสีและมีใยที่ค่อนข้างชัดเจนนั้นจะเรียกได้ว่ามีคุณภาพ แต่ถ้าหากตัวใบมีสีน้ำตาลและแห้งกรอบคล้ายใบไม้แห้ง สิ่งที่ทำให้ กัญชา นั้นเสื่อมสภาพลงได้ ทั้งนี้แล้วปัจจัยที่จะทำให้กัญชาเสื่อมลงได้นอกจากการเก็บรักษานั้นก็ยังมีเรื่องของพวกธรรมชาติที่มีผลต่อสภาพกัญชาอีกด้วย แสง แม้ว่าแสงจะช่วยให้การสังเคราะห์ที่ดีขึ้นแต่ถ้ามากเกินปริมาณก็อาจจะเป็นผลเสียแทนได้ โดยถ้าได้รับแสงมากเกินไปก็อาจจะทำให้สารในใบกัญชาอย่างแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids) และเทอร์พีน (Terpene) นั้นลดลงไป อากาศ ซึ่งก็คือ ออกซิเจน นั้นเอง ดังนั้นแล้วเราจึงไม่ควรเก็บหรือปล่อยไว้ในที่โล่งเพราะออกซิเจนอาจจะทำรายและทำให้ใบบัญชาเสื่อมลง อุณหภูมิ ถ้าเราเก็บเอาไว้ในที่ร้อนจัดจะทำให้สารเทอร์ปีนนั้นระเหยออกและทำให้ไม่มีกลิ่นหอมสดชื่นเหมือนอย่างเคย ดังนั้นแล้วควรเก็บในที่ที่มีอุณหภูมิ 15-21 องศาและเก็บในที่ เย็น มืดและแห้ง ความชื้น เป็นสิ่งที่เชื้อราชอบมากดังนั้นควรเก็บในที่แห้งเพราะ หากเชื้อราขึ้นนอกจากจะคุณภาพไม่เหมือนเดิมแล้วก็ไม่ควรนำมารับประทาน วิธีเลือกบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยให้กัญชายังคงสภาพได้ดี เลือกบรรจุภัณฑ์ที่สามารถป้องกันแสงยูวีได้ เนื่องจากบรรจุภัณฑ์ที่สามารถป้องกันแสงยูวีได้จะคงคุณภาพของใบกัญชาได้ดีและยังป้องกันไม่ให้กลิ่นกัญชาออกมาด้วย โหลแก้วสุญญากาศแบบมีฝาปิด เป็นบรรจุภัณฑ์ที่หาซื้อได้ง่ายอีกทั้งยังคงรูปของกัญชาได้ดีและป้องกันกลิ่นได้ดี แต่ควรเก็บในที่มืด ซองควบคุมความชื้น Boveda 62% เป็นที่นิยมใช้กันในหมู่นักปลูกกัญชาเพราะช่วยป้องกันความชื้นได้ถึง 6 เดือนถึง 1 ปีเลยทีเดียว แต่ถ้าซองแข็งขึ้นก็ควรเปลี่ยนทันที สิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งในการเก็บรักษา เก็บในชั้นธรรมดาของตู้เย็น การเก็บไว้ในชั้นธรรมดาของตู้เย็นนั้น จะทำให้กัญชาอบแห้งนั้นมีความชื้นและเชื้อราขึ้น ดังนั้นแล้วควรเก็บในลิ้นชักธรรมดา […]